ชวนลูกคิด เหตุผลแบบไหนที่ไม่ใช่เหตุผล

Starfish Academy
Starfish Academy 9843 views • 3 ปีที่แล้ว
ชวนลูกคิด เหตุผลแบบไหนที่ไม่ใช่เหตุผล

เวลาเด็กๆ ได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บางครั้งอาจจะมีข้อมูลที่ตกหล่นหรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ทำให้ต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้ปกครองว่าเรื่องไหนควรตัดสินใจเชื่อ หรือเรื่องไหนควรคิดให้รอบด้านก่อนตัดสินใจ แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถอยู่กับเด็กๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นการปลูกฝังให้เขามีหลักคิดที่เป็นเหตุเป็นผลตั้งแต่ต้น จะช่วยให้เขากลายเป็นคนที่รู้จักคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และไม่หลงเชื่อหรือตกเป็นเหยื่อข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องได้ง่ายๆ

ขอบคุณภาพจาก jambulboy

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่อยากจะปลูกฝังทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้กับเด็กๆ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน วันนี้เรามีหลักการที่สามารถนำไปปรับใช้กับการสอนลูกให้คิดอย่างมีเหตุผลได้ ซึ่งหลักการนี้เรียกว่า ตรรกะวิบัติ หรือ Fallacy นั่นเอง

ตรรกะวิบัติ (Fallacy) คืออะไร ?

ตรรกะวิบัติ หรือ Fallacy เป็นการอ้างเหตุผลที่บกพร่อง ไม่สมเหตุสมผล โดยในบทความนี้เราจะขอพูดถึงตรรกะวิบัติทางจิตวิทยา (Psychological Fallacy) ซึ่งเป็นเหตุผลที่ฟังเผินๆ แล้วดูเหมือนจะน่าเชื่อถือ หรือชวนให้เรารู้สึกคล้อยตาม แต่จริงๆ แล้วไม่ได้สมเหตุสมผลในเชิงตรรกะ หากแต่เป็นการอ้างเหตุผลทางความรู้สึก (emotional appeal) แทน เช่น การใช้ความสงสาร การใช้ความกลัว เพื่อให้ผู้ฟังยอมรับเหตุผลนั้น แม้จะไม่สมเหตุสมผล โดยตรรกะวิบัติทางจิตวิทยานี้ สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวันตั้งแต่โฆษณาชวนเชื่อไปจนถึงบทสนทนาระหว่างวันเลยทีเดียว

จะเกิดอะไรขึ้น...ถ้าเราใช้เหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผล ?

ตรรกะวิบัติทางจิตวิทยามักเกิดจากอคติ (bias) ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะอคติ (bias) จะช่วยให้เราไม่เสียเวลาเริ่มต้นวิเคราะห์หรือแยกแยะสิ่งต่างๆ หลายๆ รอบ อย่างเวลาโดนมีดบาดมือครั้งแรก เด็กๆ ก็จะเรียนรู้ และมองมีดในฐานะของมีคมที่อันตรายมากกว่าของเล่น ซึ่งก็นับเป็นข้อดีได้เหมือนกัน แต่บางทีก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาตรรกะวิบัติได้ อย่างเวลาพ่อแม่บอกว่า“ถ้ากินข้าวไม่หมด คุณลุงข้างบ้านจะจับไปกินนะ” พอโตขึ้นเด็กๆ ก็อาจจะเชื่อมโยงการกินข้าวหมดกับความกลัว แทนที่จะเป็นการนึกถึงผลกระทบจากการกินข้าวไม่หมด แถมยังแอบกลัวคุณลุงข้างบ้านเพราะเข้าใจผิดไปว่าคุณลุงจะจับเขาไปกินจริงๆ

ดังนั้น การใช้เหตุผลทางความรู้สึก หรือตรรกะวิบัติทางจิตวิทยาดังกล่าวจึงส่งผลต่อชีวิตประจำวันทั้งของเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ เช่น

  • การอาจจะเข้าใจหรือตีความสิ่งต่างๆ คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง รวมทั้งตกเป็นเหยื่อของข่าวสารที่ไม่น่าเชื่อถือหรือข้อมูลเท็จต่างๆ
  • ถ้าคุณพ่อคุณแม่ใช้เหตุผลเหล่านี้คุยกับลูก อาจจะทำให้พวกเขาทำตาม เพราะเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้คือเหตุผลที่ถูกต้อง และนำไปใช้กับเพื่อน โรงเรียน หรือสังคมภายนอก จนอาจจะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
  • เมื่อไม่ได้พูดคุยกันด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ หรือหลักฐานที่พิสูจน์ได้ อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น เพราะกลายเป็นข้อถกเถียงแบบไม่มีที่สิ้นสุด 

ขอบคุณภาพจาก Megan_Rexazin

เหตุผลแบบไหนบ้างที่เรียกว่าเป็น ตรรกะวิบัติทางจิตวิทยา ?

จริงๆ แล้วตรรกะวิบัติที่ว่านี้มีหลายรูปแบบมาก วันนี้เราเลยขอยกตัวอย่างบางรูปแบบมักจะพบเห็นบ่อยๆ ตามสื่อหรือบทสนทนาชีวิตประจำวัน ไปดูกันเลยดีกว่าว่าคุณเคยพบเห็น หรือเผลอใช้ Fallacy ต่อไปนี้กับลูกๆ บ้างหรือเปล่า

  • การใช้ความสงสาร (Appeal to Pity) : เป็นการอ้างเหตุผลโดยทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเห็นใจ สงสาร ทั้งที่ไม่มีหลักฐานหรือข้อสนับสนุน เช่น การใช้รูปภาพโฆษณาที่เป็นเด็กหรือคนที่ดูน่าสงสาร ทั้งที่คนในภาพอาจจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้านั้นเลย หรือการอ้างว่า “ปล่อยไปเถอะ อย่าไปเอาผิดเขาเลย เพราะยังไงตอนนี้เขาไม่ค่อยสบาย แถมมีเรื่องเครียดหลายอย่าง”
  • การอ้างคนส่วนมาก (Appeal to the People) : เป็นการให้เหตุผลว่าคนส่วนมากคิดหรือทำแบบนี้ เพื่อให้อีกฝ่ายยอมจำนนต่อเหตุผลของตัวเอง เพราะกลัวว่าจะกลายเป็นคนส่วนน้อย และไม่เป็นที่ยอมรับของคนอื่นๆ ทั้งที่จริงสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป ตัวอย่าง Fallacy ประเภทนี้เช่น “80% ของเด็กไทยทั่วประเทศใช้ปากกายี่ห้อนี้ ดังนั้น น้องๆ ควรซื้อปากกายี่ห้อนี้มาใช้” หรือ “ใคร ๆ ก็ลอกข้อสอบกัน ทำไมเราจะทำบ้างไม่ได้”
  • การโจมตีที่ตัวบุคคล (Personal Attack) : การอ้างเหตุผลไปที่ตัวบุคคลหรือตัวผู้พูด โดยไม่ได้สนใจความสมเหตุสมผลของเนื้อหาสาระที่พูดออกมา ซึ่งอาจจะทำให้พลาดข้อมูลที่ถูกต้องหรือสมเหตุสมผลไป เช่น “A เป็นคนทำแก้วแตกแน่เลย เพราะ A เป็นคนซุ่มซ่าม” หรือ ตอนที่คุณแม่เตือนให้ลูกพูดเพราะๆ แล้วลูกตอบว่า “ทีคุณแม่ยังพูดไ่ม่เพราะตอนขับรถเลย”
  • การเบี่ยงประเด็น (Red Herring) : คือการเบี่ยงประเด็นหรือเปลี่ยนเรื่อง โดยนำข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เชื่อมโยงกับเรื่องที่พูดคุยกันมาอธิบายเหตุผล เช่น A บ่นว่า “สิวขึ้นอีกแล้ว เพราะช่วงนี้นอนดึกแน่เลย” คุณแม่เลยตอบว่า “ก็อยู่หน้าจอโทรศัพท์ทั้งวัน เลยทำให้สุขภาพไม่ดี เดี๋ยวสายตาก็เสียแถมเกรดก็ตกลงไปด้วยหรอก”
  • การสร้างทางเลือกลวง (False Dilemma) : คือการสร้างทางเลือกแค่สองทาง หรือบีบบังคับให้เลือกตามชอยส์ที่บอกมา ทั้งที่จริงอาจจะมีทางเลือกอื่นอีกหลายอย่าง เช่น เด็กๆ ไปโรงเรียนแล้วเจอรุ่นพี่บอกว่า “ถ้าไม่ชอบกิจกรรมนี้ ก็ลาออกจากชมรมไป” ทั้งที่จริงการเข้าชมรมควรเป็นความสมัครใจ ส่วนความชอบหรือไม่ชอบกิจกรรมในชมรม จริงๆ แล้วมีทางเลือกอื่นๆ อย่างการพูดคุยกันว่าทำไมถึงไม่ชอบกิจกรรมนี้ และปรับยังไงได้บ้าง โดยไม่ได้มีทางเลือกแค่การอยู่หรือไปจากชมรมเท่านั้น

นอกจากจะสอนเด็กๆ ให้มีหลักการคิดอย่างมีเหตุผลแล้ว บางครั้งเราเองอาจจะต้องหันกลับมาสำรวจตัวเองด้วยว่า เราเคยเผลอใช้เหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลแบบนี้กับลูกบ้างหรือเปล่า เพราะสิ่งสำคัญกว่าการสอน คือการเป็นแบบอย่างที่ดีให้พวกเขาเชื่อถือและอยากปฏิบัติตาม

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.unlockmen.com/fallacy-critical/

https://examples.yourdictionary.com/examples-of-fallacies.html

http://old-book.ru.ac.th/e-book/p/PY105(46)/py105_04_12.pdf

https://io9.gizmodo.com/critical-thinking-explained-in-six-kid-friendly-animati-5888322

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ศิลปะแห่งการตั้งคำถามในห้องเรียน

“การตั้งคำถาม” ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งที่คุณครูสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ศิลปะแห่งการตั้งคำถามในห้องเรียน
Starfish Academy

ศิลปะแห่งการตั้งคำถามในห้องเรียน

Starfish Academy
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1629 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1584 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน

หลักสูตรสำหรับครูที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกิจกรรมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน
Starfish Academy

การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน

Starfish Academy

Related Videos

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
5993 views • 2 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
04:09
Starfish Academy

3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19

Starfish Academy
54 views • 2 ปีที่แล้ว
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
"น้องเบล" นักร้องโอเปร่า ระดับโลก
04:39
Starfish Academy

"น้องเบล" นักร้องโอเปร่า ระดับโลก

Starfish Academy
2957 views • 3 ปีที่แล้ว
"น้องเบล" นักร้องโอเปร่า ระดับโลก
เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน
02:36
Starfish Academy

เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน

Starfish Academy
137 views • 4 ปีที่แล้ว
เทคนิคช่วยให้ลูกรักการอ่าน