การเมือง ไม่ใช่เรื่องของเด็กๆ จริงหรือ?

Starfish Academy
Starfish Academy 18512 views • 3 ปีที่แล้ว
การเมือง ไม่ใช่เรื่องของเด็กๆ จริงหรือ?

ช่วงเดือนที่ผ่านมา หลายคนอาจเห็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนที่ออกมาเสนอข้อเรียกร้องทางการเมืองต่อรัฐบาล โดยเฉพาะทางโซเชียล มีเดีย อย่าง ทวิตเตอร์ จะพบว่าจำนวนผู้ให้ความสนใจเหตุการณ์บ้านเมือง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และกลุ่มอายุของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะด้วยการแสดงความคิดเห็น หรือออกไปร่วมชุมนุมนั้น กว่าครึ่งเป็นเยาวชนที่บางคนยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าทุกคนที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี สามารถเลือกที่หาข้อมูลที่ตนเองสนใจได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้เกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น จนนำไปสู่การเรียกร้องและนัดหมายการชุมนุม ซึ่งในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง อาจพบว่านี่เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ลูกหลานของเรามีชุดข้อมูลความรู้ มีความคิด การแสดงออก และมีเหตุมีผลที่เป็นตัวของตัวเองอย่างมาก จนอาจทำให้ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ไม่สบายใจ ว่าแล้วเราลองมาทำความเข้าใจเด็ก ๆ ยุคนี้ และหาวิธีรับมืออย่างเป็นประชาธิปไตย ให้ถูกใจลูกวัยรุ่นกันดีกว่าค่ะ 

การเมือง เรื่องของใคร?

ก่อนจะบอกได้ว่าเด็ก ๆ ควรยุ่งเรื่องการเมืองหรือไม่ เราอาจต้องมาทำความเข้าใจคำว่าการเมืองกันก่อนค่ะ ซึ่งการเมืองที่เราพูดถึงอยู่ทุกวันนี้ น่าจะหมายถึงระบอบการปกครองอันเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง ซึ่งประเทศไทยที่เรียกตัวเองว่ามีการปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” นั้น คำว่าประชาธิปไตย มีความหมายว่าอย่างไร และใครควรมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง มาหาคำตอบกันค่ะ

จากเอกสารวิชาการส่วนบุคคล เรื่อง ประชาธิปไตย หลักพื้นฐานสำหรับสามัญชน โดย ดร.แสงชัย อภิชาติธนพัฒน์ วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยประชาชน เมื่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจ สูงสุดเป็นของประชาชน ประชาชนทุกคนจึงมีสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและอยู่เหนือ อำนาจรัฐ รัฐจะก้าวล่วงเข้ามาจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ได้

จากความหมายดังกล่าว หากถามว่าการเมือง เป็นเรื่องของใคร ก็คงจะไม่ผิดหากจะกล่าวว่า การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยนั้น เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน มีสิทธิเรียกร้องแสดงความคิดเห็นได้ภายใต้กฎหมาย และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน

บทบาทของพ่อแม่ เมื่อลูกแคร์เรื่องบ้านเมือง

มีคู่มือและบทความต่างๆ มากมายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก ไม่ว่าจะในแง่ร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา แต่เมื่อมาถึงเรื่องบทบาทของเด็ก ๆ ในฐานะพลเมือง พ่อแม่ผู้ปกครองอาจไม่คุ้นเคยนัก และอาจไม่รู้ว่าจะต้องรับมืออย่างไร โดยเฉพาะเมื่อจู่ ๆ เยาวชนภายในบ้านเกิดมีความตื่นตัวทางการเมือง มีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองสูง เริ่มแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ ในสังคมอย่างตรงไปตรงมา พ่อแม่ผู้ปกครอง ควรให้คำแนะนำอย่างไรบ้าง ในฐานะที่เราต่างเป็นพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

  • รับฟัง คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับว่าเด็กน้อยที่เราเคยให้นม ป้อนข้าว บัดนี้พวกเขาโตพอที่จะมีความคิดเป็นของตัวเองแล้ว และเสียงของเราที่เด็กน้อยเคยรับฟัง กลับค่อย ๆ ถูกทำให้เบาลง ด้วยเสียงอื่น ๆ รอบกายลูก แม้ว่าเราพยายามเปล่งเสียงให้ดังเพียงใด ก็อาจเข้าไม่ถึงใจลูกเหมือนเดิม แทนที่จะน้อยใจ หรือรู้สึกเสีย ลองปรับมุมมองว่า ที่เราเลี้ยงดูเขามาเพื่อให้เติบโต มีความคิดและเป็นตัวของตัวเองนั้น วันนี้สิ่งที่เราเฝ้าทำมาเป็นสิบ ๆ ปี ประสบผลสำเร็จแล้ว การที่ลูกมีความคิดเห็นของตัวเอง แสดงว่าเราได้ให้โอกาสลูกได้เติบโตอย่างเสรี ดังนั้นลองเปิดใจรับฟังความคิดของลูก แม้คุณอาจยังไม่แน่ใจว่าความคิด ความเชื่อนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่อย่างน้อยลูกก็กล้าที่จะเลือกความเชื่อของตัวเอง ซึ่งถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการเติบโต หากต่อไปข้างหน้าสิ่งที่ลูกเลือกเชื่อในวันนี้เปลี่ยนแปลงไป พวกเขาก็จะได้ประสบการณ์ชีวิตล้ำค่าเป็นบทเรียน ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้เรามอบให้กันไม่ได้ แต่เรามอบโอกาสเพื่อให้เขามีประสบการณ์เหล่านี้ได้ ด้วยการยอมรับและรับฟังค่ะ
  • ชวนให้คิด บางครั้งการออกไปร่วมชุมนุม หรือแสดงความคิดเห็นอย่างดุเดือดในโลกออนไลน์ ก็เป็นดาบสองคม ดังนั้น เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มอินเรื่องบ้านเมืองหนัก ๆ อาจชวนลูกนั่งคุย ฟังความเห็นของพวกเขา ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม ควรฟังโดยไม่ตัดสิน ไม่ตำหนิ หรือวิจารณ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี และลองตั้งคำถามว่า สิ่งที่ลูกคิดว่าเป็นปัญหา ลูกจะทำอย่างไร แล้วสิ่งที่ลูกเลือกทำจะส่งผลอะไรต่อลูก และคนรอบตัวบ้าง หากเกิดผลกระทบต่อตัวลูก หรือคนใกล้ตัว ลูกเตรียมรับมือสิ่งเหล่านั้นอย่างไร อธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าทุก ๆ การกระทำย่อมมีผลตามมาเสมอ ก่อนทำอะไรจึงควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ และพร้อมยอมรับผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้นให้ได้ 
  • เปลี่ยน “ห้าม” เป็น “ห่วง” ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่กับความคิดของเด็ก ๆ แต่การปล่อยให้ลูกออกไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น ไปร่วมชุมนุม ก็ย่อมอดห่วงเรื่องความปลอดภัยไม่ได้ ดังนั้น แทนที่จะห้าม ซึ่งสำหรับวัยนี้อาจยิ่งเป็นการเติมเชื้อไฟ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ลองเปลี่ยนเป็นการบอกให้เด็ก ๆ รู้ว่าคุณเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของพวกเขา ไม่ใช่ว่าคุณไม่ไว้ใจว่าลูกจะดูแลตัวเองไม่ได้ แต่ตามธรรมชาติของการชุมนุม ที่มีผู้คนมากหน้าหลายตา และเราไม่อาจรู้ว่าใครหวังดีหรือคิดร้ายอย่างไร หากลูกขอไปร่วมชุมนุม อาจลองพูดคุยเพื่อพบกันครึ่งทาง เช่น ขอให้ลูกเปิดโทรศัพท์ แชร์โลเคชันให้พ่อแม่รับรู้ตลอดเวลา ชาร์ตโทรศัพท์ให้เต็ม และพกแบตสำรอง อาจนัดแนะสถานที่ที่พ่อแม่จะไปรับหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินไว้ล่วงหน้า รวมทั้ง ให้เด็ก ๆ ศึกษาเรื่องสิทธิของการชุมนุมต่าง ๆ ให้เข้าใจ ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ 

เมื่อคิดเห็นไม่ตรงกัน ทำอย่างไร

ในระบอบสังคมประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกความเชื่อ และแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีโดยที่ไม่ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกันค่ะ หากสมาชิกในครอบครัวมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ไม่ใช่เรื่องแปลก พ่อแม่อาจเชื่อแบบหนึ่ง ขณะที่ลูกเชื่ออีกแบบหนึ่ง จะว่าไปแล้วความเชื่อทางการเมือง ก็เหมือนความเชื่ออื่น ๆ ที่แม้แต่ละคนจะคิดไม่เหมือนกัน ก็อยู่ร่วมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน หากคุณพบว่าลูก ๆ มีความเชื่อทางการเมืองต่างจากพ่อแม่ผู้ปกครอง สิ่งที่ควรทำเพื่อรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว คือ

  • เข้าใจธรรมชาติของการเติบโต เด็ก ๆ โตขึ้นทุกวัน ไม่เพียงแค่ร่างกาย แต่ยังรวมถึงความคิดและสติปัญญาด้วย การที่เด็ก ๆ มีความคิดเป็นของตัวเอง อาจไม่ได้เกิดขึ้นเพราะพวกเขาต้องการแสดงการต่อต้านผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ แต่อาจเป็นเพราะพวกเขาเลือกที่จะเชื่อเช่นนั้นจริง ๆ ลองเปิดใจให้กว้าง และยอมรับว่าตอนนี้ลูกเติบโตมีความคิดเป็นของตัวเองแล้ว เพื่อที่จะได้เข้าใจกันมากขึ้นในฐานะที่ลูกเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งค่ะ
  • อย่าละเลยความเชื่อเพียงเพราะพวกเขาเป็นเด็ก สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ลูก ๆ หลาน ๆ ยังเป็นเด็กเสมอในสายตาของเรา บ่อยครั้งเราจึงทำเหมือนว่าความคิดเห็นและการกระทำของพวกเขาเป็นเรื่องเด็กเล่น ซึ่งการทำให้เด็ก ๆ รับรู้ว่าเราคิดกับพวกเขาเช่นนี้ ไม่เพียงทำลายสายสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ยังเป็นการไม่เคารพในความคิดของลูกด้วย เราอาจเห็นว่าเด็ก ๆ วัน ๆ ไม่ทำอะไร แต่ภายใต้โลกยุคดิจิตอลนั้น เด็ก ๆ อาจรู้มากกว่าที่เราคาดคิด การให้ความสำคัญ และยอมรับความคิดที่แตกต่างของลูก ขณะที่ลูกก็ยอมรับความเชื่อของพ่อแม่ เป็นหัวใจสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยค่ะ
  • ตั้งกฎเกณฑ์ เมื่อรู้ว่าคุณ และลูกมีความเชื่อทางการเมืองไม่ตรงกัน แทนที่จะต่างคนต่างอยู่ โกรธหรือตำหนิเด็ก ๆ ลองชวนพวกเขามานั่งคุย รับฟังความเชื่อของแต่ละฝ่าย และตั้งกฎเกณฑ์ภายในบ้านร่วมกันในเรื่องการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เช่น เมื่อใช้เวลาร่วมกันในบ้าน จะไม่เปิดรับสื่อที่แสดงออกชัดเจนเรื่องการเมือง หรือ ไม่พูดคุยเรื่องการเมืองเวลากินข้าว เมื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต้องมีเหตุผลสนับสนุน ไม่ใช้อารมณ์ เป็นต้น 
  • เข้าอกเข้าใจ หัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย คือ การเข้าอกเข้าใจผู้ที่มีความคิดแตกต่างจากตน ไม่ว่าความคิดความเชื่อนั้นจะมาจากพื้นฐานสังคม เชื้อชาติ อายุ หรืออะไรก็ตาม การพยายามเข้าใจว่าทำไมอีกฝ่ายถึงเชื่อเช่นนั้น จะทำให้แต่ละคนเติบโตในฐานะพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองชวนลูกศึกษาสิ่งที่คุณเชื่อ ในขณะเดียวกันก็เปิดใจศึกษาสิ่งที่ลูกเชื่อ เพื่อแลกเปลี่ยน ไม่แน่ว่าต่างฝ่ายอาจค้นพบความเชื่อที่มาบรรจบกันครึ่งทางก็ได้

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1085 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
2064 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6285 ผู้เรียน
เครื่องมือผู้ปกครอง
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

การจะเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ลูกๆ ต้องการแค่แบบอย่างที่ดี เพราะพ่อแม่คือต้นแบบในการดำเนินชี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ
Starfish Academy

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

Starfish Academy

Related Videos

เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
30:00
Starfish Academy

เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่

Starfish Academy
195 views • 1 ปีที่แล้ว
เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
169 views • 1 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
71 views • 1 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
313 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง