Toxic Family Checklist ครอบครัวเราเป็นพิษต่อจิตใจลูกหรือเปล่า

Starfish Academy
Starfish Academy 13739 views • 1 ปีที่แล้ว
Toxic Family Checklist ครอบครัวเราเป็นพิษต่อจิตใจลูกหรือเปล่า

คำว่า “ครอบครัว” สำหรับแต่ละบุคคลอาจนำมาซึ่งหลากหลายความรู้สึก ขึ้นอยู่กับประสบการณ์วัยเยาว์และสถานการณ์ปัจจุบันของครอบครัว ความรู้สึกเหล่านี้อาจมีตั้งแต่ความรู้สึกเชิงบวก ความรู้สึกกลางๆ หรือกระทั่งความรู้สึกเชิงลบ

สำหรับคนที่เติบโตมากับ Toxic Family หรือครอบครัวที่ผู้ใหญ่ในบ้านมีพฤติกรรมที่เป็นพิษ ความรู้สึกเมื่อพูดถึงคำว่าครอบครัวอาจยิ่งกว่าความรู้สึกเชิงลบ แต่ยังส่งผลให้รู้สึกเครียด กังวลจนกระทั่งมวนท้องราวกับจะอาเจียน

ขณะที่ต่างคนต่างใช้ชีวิต ความวุ่นวายและหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ อาจทำให้หลายคนลืมคิดไปว่า ทุกการกระทำ และคำพูดของเรานั้น ล้วนส่งผลกระทบต่อคนใกล้ตัวในแง่ใดแง่หนึ่งเสมอ ซึ่งหากว่าเรามีความคิดและทัศนคติเชิงลบอยู่แทบตลอดเวลา ก็เป็นไปได้มากว่าเราจะแสดงพฤติกรรมเชิงลบที่ส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวรวมทั้งเด็กๆ ด้วย และพฤติกรรมเชิงลบที่ต่อเนื่องยาวนานนี่เอง อาจเป็นสาเหตุของครอบครัวเป็นพิษที่ส่งผลต่อจิตใจของเด็กๆ ในระยะยาว

Toxic Family คืออะไร?

Toxic Family หมายถึง ครอบครัวที่ไม่มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ซึ่งมักแสดงออกผ่านการกระทำที่ทำร้ายกันและกันด้วยคำพูด พฤติกรรม ขาดการสื่อสารที่ดี รวมทั้งไม่สะสางความขัดแย้งภายในครอบครัวให้ยุติลงได้ด้วยดีโดยทั่วไปแล้วครอบครัวที่มีพฤติกรรมเป็นพิษ มักถ่ายทอดพฤติกรรมเชิงลบเหล่านั้นรุ่นสู่รุ่นโดยไม่รู้ตัว ในภาษาอังกฤษจึงมักพบคำว่า Toxic Family Dynamics นั่นคือการถ่ายทอดความเป็นพิษในครอบครัวต่อไปเรื่อยๆ คล้ายๆ กับลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น เมื่อเด็กๆ ถูกเลี้ยงมาด้วยพฤติกรรมเชิงลบ พวกเขาก็จะเติบโตเป็นพ่อแม่ที่ใช้พฤติกรรมเชิงลบกับลูกๆ เช่นกัน

Toxic Family มักมีลักษณะร่วมกันที่พบได้บ่อย คือ

  • ขาดความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
  • ขาดพื้นที่ส่วนตัว ไม่ให้เกียรติเรื่องส่วนตัวของสมาชิกครอบครัว
  • เกิดความขัดแย้งบ่อย ตั้งตัวเป็นศัตรู และมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อกัน
  • ทำร้ายร่างกายและจิตใจ ผ่านการกระทำและคำพูด
  • ลูกมีภาระหน้าที่เกินกำลังของเด็ก เช่น ดูแลพ่อแม่ แทนที่พ่อแม่ต้องดูแลลูก
  • ความรักและการยอมรับมักมาพร้อมกับเงื่อนไข เช่น ลูกต้องสอบได้ที่ 1 พ่อแม่ถึง ยอมรับ หรือ พ่อแม่จะบอกว่ารักลูกก็ต่อเมื่อลูกให้เงิน เป็นต้น

ประเภทของ Toxic Family

อย่างไรก็ตาม Toxic Family แม้จะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน แต่ก็อาจแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ตามปัญหาหลักของครอบครัวนั้นๆ เช่น Toxic Family ที่ครอบครัวทะเลาะกันบ่อย อาจเป็นพ่อแม่ทะเลาะกันเอง หรือพ่อแม่ทะเลาะกับลูก หรือลูกๆ ทะเลาะกันโดยพ่อแม่ได้เข้ามารับมืออย่างเหมาะสม หรือกระทั่งครอบครัวที่พ่อแม่ปล่อยปละละเลย ไม่สม่ำเสมอ ไม่รักษากฎระเบียบในบ้าน ก็อาจส่งผลให้ลูกเป็นเด็กเกเร เพราะพวกเขาไม่รู้ว่ากฎเกณฑ์ไหนที่ควรยึดถือ จนเกิดการต่อต้าน

นอกจากนี้ยังมี Toxic Family ประเภทที่สมาชิกในครอบครัวขาดสายสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งพบได้บ่อยในครอบครัวชาวเอเชีย ที่ไม่ค่อยแสดงออกซึ่งความรัก ส่งผลให้เด็กที่เติบโตจากครอบครัวประเภทนี้มีปัญหาเรื่องการเห็นคุณค่าในตัวเอง หรือครอบครัวที่ชายเป็นใหญ่ พ่อมักใช้อำนาจออกคำสั่ง ทำโทษลูกๆ โดยปราศจากเหตุผล ขณะที่แม่ซึ่งเป็นเพศหญิง ไม่มีปากเสียงในครอบครัว ไม่กล้าลุกขึ้นปกป้องลูก ก็อาจส่งผลให้เด็กๆ ในครอบครัวนี้ขาดการเห็นคุณค่าในตัวเอง กลายเป็นคนขี้กังวล หวาดกลัว และขาดความมั่นใจ

Toxic Family ส่งผลจิตใจเด็กๆ อย่างไร

ครอบครัวที่เป็นพิษ ส่งผลกระทบต่อเด็กๆ หลายด้านต่างกันไป สำหรับผลกระทบระยะสั้นที่เห็นได้ทันที คือ เด็กๆ มักไม่สดใส ไม่มีความสุข บางคนอาจวิตกกังวลตลอดเวลา เด็กบางคนที่ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มักเปลี่ยนตัวเองตามกลุ่มเพื่อนเพื่อให้ได้รับการยอมรับ โดยที่ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองชอบอะไร หรืออยากทำอะไร

นอกจากนี้ ผลกระทบของการเติบโตขึ้นมาใน Toxic Family ที่อาจติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ เป็นปัญหาพฤติกรรมระยะยาวที่ยากจะแก้ไข ได้แก่

  • ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง และขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
  • มีปัญหาในการรับมือกับผู้ที่มีอำนาจมากกว่า เช่น หวาดกลัว หรือ ต่อต้านมากเกินไป
  • อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ และมักตอบโต้ด้วยความโกรธ
  • ต้องให้คนอื่นแสดงการยอมรับตลอดเวลา
  • มักตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษโดยไม่รู้ตัว เช่น มีคนรักเป็นจอมบงการ หรือ ถูกเพื่อนสนิทเอาเปรียบ
  • ขาดความรับผิดชอบที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง
  • รู้สึกผิดที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อตัวเอง
  • รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความหวัง และไม่มีประโยชน์
  • กลัวถูกทิ้งหรือกลัวถูกปฏิเสธโดยไม่มีเหตุผล
  • มีปัญหาเรื่องการเชื่อใจคนอื่นๆ

ปัญหาระยะยาวอีกประการที่น่ากังวล สำหรับเด็กที่เติบโตมาใน Toxic Family ก็คือ ความเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นได้เนื่องจาก ความเครียดระยะยาวส่งผลให้การทำงานของสมองเปลี่ยนไป เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรค เช่น เบาหวาน มะเร็ง หรือโรคหัวใจ ขณะที่โรคทางใจนั้นก็พบได้ง่ายในเด็กที่เติบโตมากับ Toxic Family เช่น โรคเครียด โรค

ซึมเศร้า รวมทั้งยังมีโอกาสสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม (Antisocial) ด้วย

ครอบครัวเรานี้ เป็นพิษหรือเปล่า?

เมื่ออ่านมาถึงบรรทัดนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนน่าจะพอหาคำตอบได้ว่า ครอบครัวของเราขณะนี้เป็น Toxic Family หรือไม่ เริ่มแรกอาจยากที่จะยอมรับว่าเรากำลังสร้างบรรยากาศครอบครัวที่เป็นพิษให้กับลูกๆ เพราะเชื่อว่าพ่อแม่ต้องเผชิญกับความเครียดในชีวิตประจำวันมากมาย และการเลี้ยงดูเด็กสักคนให้ดี ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

มีหลายอย่างในโลกนี้ที่เราควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเงิน การกระทำของเพื่อนร่วมงาน หรือพฤติกรรมของคนรอบตัวที่เราอาจไม่ชอบใจเท่าใดนัก

กระนั้น ความเครียดต่างๆ ที่เราเผชิญในชีวิตประจำวัน หรือกระทั่งภายในครอบครัวของเราเอง ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะปลดปล่อยความเครียดนั้นผ่านพฤติกรรมแย่ๆ หรือคำพูดร้ายๆ ที่บั่นทอนใจคนใกล้ตัวได้ ถึงแม้จะไม่ได้แสดงออกกับลูกๆ แต่การแสดงพฤติกรรมหรือคำพูดเชิงลบต่อใครก็ตามในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ก็อาจมากพอแล้วที่จะทำให้ครอบครัวของเราเป็น Toxic Family

หากพ่อแม่ผู้ปกครอง พูดจาประชดประชันตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย ด่วนตัดสินไม่รับฟังเหตุผลของเด็กๆ อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ใช้ความรักหรือความห่วงใยเป็นข้ออ้างเพื่อสั่งให้เด็กๆ ทำสิ่งต่างๆ ตามที่เราต้องการโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพกายใจของลูกเป็นหลัก ก็อาจเข้าข่ายว่าเรากำลังสร้างบรรยากาศของ Toxic Family อยู่รอบๆ ตัวลูก

สุดท้ายแล้ว ท่ามกลางความผันผวนของปัจจัยภายนอก สิ่งเดียวที่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถควบคุมได้ หาใช่พฤติกรรมของลูกๆ แต่เป็นพฤติกรรมของตัวเราเอง หากรู้สึกว่ามีบางการกระทำที่อาจเข้าข่าย Toxic ต่อคนใกล้ตัว ลองค่อยๆ พยายามปรับเปลี่ยน หรือพูดคุยกับเพื่อนสนิท หรืออาจนัดพบนักจิตบำบัด เพื่อช่วยให้คำแนะนำในการปรับทัศนคติ เพราะเด็กๆ ที่เติบโตมาจาก

ครอบครัวที่มอบความรัก ให้เกียรติและเห็นคุณค่าในตัวของพวกเขาเท่านั้น ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งกายและใจได้ในที่สุด

แหล่งอ้างอิง (Sources) :


มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1615 ผู้เรียน
ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก และสังคม
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ

ความแปรปรวน ของสภาพอากาศโลกและภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่มีความรุนแรงขึ้น จึงมีความจำเ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ
Starfish Academy

สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ

Starfish Academy
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Starfish Academy

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Starfish Academy
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1572 ผู้เรียน

Related Videos

สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต
05:59
Starfish Academy

สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต

Starfish Academy
161 views • 2 ปีที่แล้ว
สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
31:53
Starfish Academy

ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

Starfish Academy
485 views • 1 ปีที่แล้ว
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
201 views • 1 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
973 views • 1 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต