การจัดการศึกษาแบบ Remote Learning เพื่อการสอนแบบ Teach From Home

Starfish Academy
Starfish Academy 21468 views • 4 ปีที่แล้ว
การจัดการศึกษาแบบ Remote Learning เพื่อการสอนแบบ Teach From Home

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ทุกคนกังวลกับความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหากต้องออกจากบ้านมาพบปะกันในสถานที่ต่างๆ ดังนั้น หลายองค์กรจึงได้ตอบรับนโยบายของภาครัฐในการลดความเสี่ยงด้วยการเพิ่มระยะห่างระหว่างกันในสังคม โดยอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือเรียกกันแบบเก๋ๆ ว่า Work from home (WFH) จนส่งผลให้จำนวนผู้ใช้โปรแกรม Zoom.us ซึ่งเป็นแฟลตฟอร์มสำหรับการประชุมทางไกล (Video Conference) เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคนทั่วโลก เป็น 200 ล้านคนต่อวัน ไม่เพียงแต่ภาคธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและต้องปรับวิธีการทำงาน ในส่วนขององค์กรด้านการศึกษาเองก็เช่นกันที่ต้องปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยนำเอาเทคโนโลยีและบรรดาเครื่องมือที่จะช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบออนไลน์เข้ามาปรับใช้เพื่อให้ครูและเด็กๆ สามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไปได้ภายใต้วิกฤติโรคระบาดนี้ โดยครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาหลายคนอาจจะยังไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจกันมาก่อน จึงอาจกล่าวได้ว่า "โควิด-19" เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการปฏิรูป (Transfomation) สถานศึกษาสู่องค์กรยุคดิจิทัลในเวลาเพียงชั่วข้ามคืนเลยก็ว่าได้


ภายใต้ความสับสน อลหม่าน และสภาวการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงเกี่ยวกับกำหนดวันเปิดภาคเรียนใหม่ ซึ่งสุดท้ายก็ถูกเลื่อนออกไปจากวันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันที่ 1 กรกฏาคม 2563 แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้หลายโรงเรียนเริ่มมองหาวิธีการที่จะจัดการเรียนรู้ในแบบที่ครูกับเด็กอาจจะไม่ได้อยู่ในห้องเดียวกัน หรือที่เรียกว่า “การจัดการศึกษาทางไกล” (Distance or Remote Learning) และด้วยความไม่คุ้นเคยกับการจัดการศึกษาในรูปแบบนี้ ทำให้ผู้บริหารและครูหลายคนอาจคิดออกเพียงแค่การใช้ครูตู้ (การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมหรือระบบทีวีดิจิทัล) และการใช้การประชุมทางไกลมาทดแทนการสอนแบบบรรยายในห้องเรียนแล้วให้เด็กๆ นั่งฟังครูเล่าความรู้อยู่ที่บ้าน ซึ่งทุกคนก็รู้อยู่แก่ใจดีว่า "มันไม่เวิร์ค"


นอกจากการพัฒนาครูให้พร้อมกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์และการแจกแท็ปเล็ตให้กับเด็กๆ (ซึ่งคงต้องประเมินความคุ้มค่าให้ดีเสียก่อน) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเรียนแบบ Remote Learning แล้ว โรงเรียนอาจต้องใช้ความร่วมแรงร่วมใจจากหลายฝ่ายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครอง โดยนอกจากจะต้องชี้แจ้งให้ทุกคนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแล้ว ก็คงต้องทำการสำรวจความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครองด้วย เช่น อุปกรณ์ที่จะใช้ในการเรียนรู้ การสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่องทางที่สะดวกในการสื่อสาร เวลาในการดูแลบุตรหลานและภาระของผู้ปกครอง รวมถึงความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของคนในบ้านด้วย (ในกรณีของครอบครัวชนเผ่าหรือคนต่างด้าว ที่อาจไม่สื่อสารด้วยภาษาไทย) 





สำหรับงานวิชาการอาจจะต้องพิจารณาดูว่า สามารถปรับตารางเรียนตารางสอนใหม่จากเดิมที่เคยสอนเป็นคาบเรียนวันละ 6-7 วิชา โดยอาจจัดตารางเรียนใหม่ให้เป็น แบบเรียนวันละวิชา หรือ แบบบล็อกคอร์ส (Block course) ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปทีละรายวิชา เมื่อจบวิชาหนึ่งแล้วจึงจะเริ่มขึ้นวิชาใหม่ในวันหรือสัปดาห์ถัดไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถโฟกัสในกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละวิชาได้ง่ายและลดความสับสนจากการเรียนอย่างเร่งรีบในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ส่วนงานวิชาการอาจจำเป็นต้องออกแบบวิธีการหรือจัดหาระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับและติดตามการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่เพื่อการจับผิดว่าครูสอนหรือไม่ แต่ใช้เพื่อดูว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาตามนโยบายที่กำหนดไว้นั้นใช้ได้ผลหรือไม่ และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายวิชาการสามารถให้การสบับสนุนและช่วยเหลือครูผู้สอนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดได้อย่างทันท่วงที โดยเบื้องต้นผมขอแนะนำว่าให้ฝ่ายวิชาการใช้ Google Form ในการสร้างเป็นแบบฟอร์มให้ครูผู้สอนกรอกเป็นบันทึกหลังการสอนในแต่ละหน่วย ก็จะช่วยให้ฝ่ายวิชาการสามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็ว รวมทั้งสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลการจัดการเรียนรู้ในเบื้องต้นได้อีกด้วย ( ตัวอย่างคำถามสำหรับการสร้าง Google Form เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/34lZyD9 ) นอกจากนี้ อาจจัดให้มีการประชุมหรือกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ (PLC) ของครูเพื่อสรุปปัญหาและช่วยกันหาแนวทางแก้ไขอย่างน้อยทุกสัปดาห์


ในบทบาทของครูผู้สอนก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องพัฒนาทักษะในการสร้างสื่อการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยในการทำงานและจัดการเรียนการสอน โดยเบื้องต้นนั้นก็คงต้องศึกษาหาความรู้และฝึกฝนการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวกับ (ดูแผนภาพความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับครูได้ที่ miro.com/app/board/o9J_ku8qQmA=/ )

  • การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แบบพกพา
  • การสื่อสารและการใช้อินเทอร์เน็ต
  • การออกแบบและการสร้างสื่อดิจิทัล
  • การสืบค้นข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญา
  • ความปลอดภัยและกฏหมายดิจิทัล


สำหรับการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนรู้นั้น ครูก็คงต้องรื้อฟื้นทบทวนเอาความรู้พื้นฐานที่คุ้นเคยมาปัดฝุ่นเพื่อใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์บทเรียนและการ Redesign กิจกรรมเพื่อจัดการศึกษาทางไกล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ OLE (Objective-Learning-Evaluation) หรือเรื่องของ การกำหนดวัตถุประสงค์และการประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม (Taxonomy of Education) ทั้ง 3 โดเมน คือ พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) จิตพิสัย (Affective Domain) ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักที่จะนำมาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attritude) ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามจุดมุ่งหมายของรายวิชาหรือหลักสูตร 





อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูจึงต้องคำนึงถึงการผสมผสานความรู้ด้านเทคโนโลยีกับศิลปะและกระบวนทัศน์ในการจัดการเรียนรู้เข้ากับการนำเสนอเนื้อหาในการสร้างองค์ความรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรอบ TPCK หรือ TPACK Model โดยท่านสามารถศึกษาเกี่ยวกับการใช้ TPACK Model เพื่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากบทเรียนของ StarfishLabz เรื่อง “พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสำหรับครู” เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com/คอร์ส/3-พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสำหรับครู


โดยสิ่งที่ครูจะต้องพิจารณาเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษาทางไกลนั้น ประกอบด้วย


(1) การแยกเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ออกเป็น 2 ส่วน คือ 

1.1 ส่วนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการอ่าน ศึกษาค้นคว้า หรือการดูคลิปวิดีโอ ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถทำได้เองในกิจกรรมแบบไม่ผสานเวลา (Asynchronous learning) ซึ่งส่วนนี้ผู้สอนอาจจัดทำเป็นใบความรู้และใบงานส่งไปให้ผู้เรียนหรืออัพโหลดไว้ในเว็บไซต์รายวิชาหรือระบบจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ (LMS) ของโรงเรียน 

1.2 ส่วนที่มีความซับซ้อนหรือเป็นองค์ความรู้ใหม่ซึ่งผู้สอนจำเป็นจะต้องอธิบาย สาธิต หรือทำกิจกรรมกับผู้เรียนแบบผสานเวลา (Synchronous learning) โดยกิจกรรมในส่วนนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจจะต้องนัดหมายเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันผ่านการประชุมทางไกลและอาศัยเครื่องมืออย่างเช่น ระบบโต้ตอบกับผู้เรียน (Student Response System) หรือเครื่องมือเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันแบบออนไลน์ (Online Collabroration Tools) มาใช้ประกอบการทำกิจกรรม


(2) การพิจารณาความเหมาะสมของระดับในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมตามตารางการบูรณาการเทคโนโลยี (Technology. Integration Matrix: TIM) เพื่อจะได้สามารถเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ให้ได้อย่างเหมาะสมต่อผู้เรียนและลักษณะรูปแบบในการจัดการเรียนรู้


อ้างอิงตารางจากหนังสือ เรื่อง "การเรียนรู้ที่บูรณาการร่ว?มกับเทคโนโลยี (Technology Integrated Learning)"

เขียนโดย ผศ.ดร. สุทธิดา จำรัส คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 


(3) การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นระยะๆ ตลอดการทำกิจกรรมการเรียนรู้ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ การวัดและประเมินกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ในการสร้างองค์ความรู้หรือชิ้นงาน ซึ่งอาจทำได้ด้วยการให้ผู้เรียนจัดทำเป็นวิดีโอหรือเอกสารเพื่ออธิบายวิธีการหรือขั้นตอนที่ได้ทำในระหว่างดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ และอีกส่วนคือการประเมินผลลัพธ์หรือผลผลิตที่เกิดการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม โดยผู้สอนจะต้องกำหนดลูบิคในการประเมินให้มีความชัดเจนและอาจให้ผู้เรียนที่ส่วนร่วมสะท้อนคิดเพื่อการประเมินผลลัพธ์หรือชิ้นงานที่ตนเองได้ทำ ทั้งนี้ ครูอาจนำเอาโปรแกรมประเภทแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ (Digital fortfolio) มาช่วยในการรวบรวมหลักฐานจากการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนได้ โดยท่านสามารถศึกษาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมดังกล่าว เพื่อการประเมินผู้เรียนเพิ่มเติมได้จากบทเรียนของ StarfishLabz เรื่อง “การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง” เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com/คอร์ส/5-การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง 


สำหรับผู้ปกครองนั้น คงไม่ต้องมานั่งเฝ้าดูลูกเรียนตลอดทั้งวันซึ่งแบบนี้แทนที่จะส่งเสริมการเรียนรู้จะกลายเป็นการรบกวนสมาธิของลูกเสียเปล่าๆ ในสถานนการณ์แบบนี้ผู้ปกครองคงต้องสวมบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับบุตรหลาน โดยการจัดสรรพื้นที่ในบ้านให้เป็นสัดส่วนและเอื้อต่อการทำกิจกรรมการเรียนรู้ และพร้อมที่จะเป็นเสมือนผู้ช่วยของคุณครูที่จะต้องคอยกำกับและติดตามการเรียนรู้ของบุตรหลายตนเองอย่างใกล้ชิดตามเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม เช่น การช่วยสร้างความพร้อมให้กับเด็กๆ หลังอาหารเช้าก่อนการเรียน และการสอบถามถึงกิจกรรมและสิ่งที่ลูกๆ ได้ทำในวันนี้ในช่วงหลังอาหารเย็นเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์ในครอบครัวและเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆ ได้สะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนในแต่ละวัน และอาจสรุปส่งเป็นข้อมูล Feedback ให้กับคุณครูตามแบบฟอร์มหรือรูปแบบที่ครูได้กำหนดไว้ทุกสิ้นวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง 


สุดท้ายนี้ ผมขอเสนอแนะรูปแบบที่อาจเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

  1. การใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning package) ประกอบกับการติดตามของครูเป็นระยะๆ ซึ่งน่าจะเหมาะกับเด็กระดับปฐมวัย ประถมศึกษาตอนต้น หรือผู้เรียนที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยี 
  2. การจัดการเรียนรู้แบบบล็อกคอร์ส (Block course) ซึ่งน่าจะเหมาะกับผู้เรียนในระดับประถมปลายหรือมัธยมศึกษา ซึ่งมีความพร้อมในการเข้าถึงอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ตามสำหรับการจัดการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษาก็ยังคงต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองในการติดตามและกำกับผู้เรียน อย่างน้อยในช่วงเย็นของทุกวันเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนผลการเรียนรู้และเพื่อประเมินสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในแต่ละวัน
  3. การจัดการเรียนรู้ตามตารางสอนเดิม (Schedule) แต่ผู้สอนกำหนดกิจกรรมในแต่ละคาบออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นกิจกรรมแบบไม่ผสานเวลาซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองเพื่อปรับพื้นฐานความรู้เดิมและเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ส่วนที่สองคือ กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสานเวลาที่ผู้เรียนจะต้องเข้ามาทำกิจกรรมกับผู้สอนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับผู้เรียน และในส่วนสุดท้ายคือกิจกรรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนสามารถกำหนดให้เป็นกิจกรรมแบบผสานเวลาหรือไม่ผสานเวลาก็ได้ตามความเหมาะสมของวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน


หากเรามองโลกในแง่ดี อย่างน้อยวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ก็ช่วยผลักดันและส่งเสริมให้พวกเราได้พัฒนาทักษะทางดิจิทัล (Digital Literacy) ตามโครงการของ ก.พ. และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งได้ปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อก้าวสู่การศึกษาซึ่งมุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามแผนพัฒนาประเทศสู่ “ดิจิทัลไทยแลนด์” และ “ประเทศไทย 4.0” อีกก้าวหนึ่งนะครับ (หรือว่าไม่จริง) 


เรียบเรียงโดย อาจารย์ธิติ ธีระเธียร

ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาครูและนักเทคโนโลยีทางการศึกษา

StarfishLabz และ Starfish Academy

มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม



มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish Academy

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่

หลักสูตรเพื่อก้าวสู่การครูยุคใหม่ซึ่งมีทักษะพื้นฐานทางดิจิทัลและความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในนำมาใช้ในการผลิตสื่อ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่
Starfish Academy

พื้นฐานการใช้เทคโนโลยี สำหรับครูยุคใหม่

Starfish Academy
26159 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

CS Unplugged

CS Unplugged หรือ Computer Science Unplugged เป็นแนวคิดการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กเล็กไปจนถึงเด็กโต ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
CS Unplugged
Starfish Future Labz

CS Unplugged

Starfish Future Labz
2600 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

สื่อไอซีทีง่ายๆด้วย Google Sheet

เรียนรู้การใช้ Flippity สร้างการสร้างเกมจับคู่, เกมแผ่นป้ายปริศนา, เกมล่าสมบัติ และเกมเกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น Hangman, C ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สื่อไอซีทีง่ายๆด้วย Google Sheet
Starfish Academy

สื่อไอซีทีง่ายๆด้วย Google Sheet

Starfish Academy
1494 ผู้เรียน

Related Videos

how to คุณอิสยาห์ กองเงิน
04:59
Starfish Academy

how to คุณอิสยาห์ กองเงิน

Starfish Academy
303 views • 4 ปีที่แล้ว
how to คุณอิสยาห์ กองเงิน
How to ทีม Rookyteam
03:55
Starfish Academy

How to ทีม Rookyteam

Starfish Academy
1147 views • 4 ปีที่แล้ว
How to ทีม Rookyteam
เปลี่ยนแปลงการศึกษา ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม
03:33
Starfish Academy

เปลี่ยนแปลงการศึกษา ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม

Starfish Academy
508 views • 1 ปีที่แล้ว
เปลี่ยนแปลงการศึกษา ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม
เทคนิควิธีการสอนโดยใช้เทคโนโลยี ช่วยสอน
03:18
โรงเรียนบ้านปลาดาว

เทคนิควิธีการสอนโดยใช้เทคโนโลยี ช่วยสอน

โรงเรียนบ้านปลาดาว
882 views • 4 ปีที่แล้ว
เทคนิควิธีการสอนโดยใช้เทคโนโลยี ช่วยสอน