แนะแนวทักษะชีวิต พาลูกเดินนอกกรอบด้วยพลังคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และเป็นตัวเอง

Starfish Academy
Starfish Academy 1591 views • 1 ปีที่แล้ว
แนะแนวทักษะชีวิต พาลูกเดินนอกกรอบด้วยพลังคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และเป็นตัวเอง

เมื่อเราพูดกันถึง ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนคงนึกถึงนิยาม ความหมาย หรือแนวคิดที่ว่าความคิดสร้างสรรค์คือทักษะในการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเท่านั้น ความคิดสร้างสรรค์คือทักษะหรือความสามารถของคนๆ หนึ่งในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่จะมีคุณค่าหรือผลลัพธ์ในทางบวกต่อธุรกิจของตนเอง สังคมหรือโลก คำว่า ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันมาตลอดมากที่สุด ในแง่นี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นเหมือนทักษะทางสังคม ทักษะในการทำงาน หรือทักษะที่มีคุณค่าและสถานะคล้ายคลึงกับบรรดาทักษะทางสังคมอื่นๆ ต่างๆ อย่างเช่น พรสวรรค์ (talents), ความสามารถ (capabilities), หรือผลิตภาพ (productivity) ฯลฯ

แต่ความคิดสร้างสรรค์ในบริบทของทักษะชีวิตละ? เป็นไปได้ไหมที่จริงๆ แล้วภาวะความคิดสร้างสรรค์นั้นก็มีตัวตน ความหมายและคุณค่าอยู่ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเราเหมือนกัน? แล้วหากอยู่ในบริบทนั้น มันคือภาวะ พลังงาน หรือทักษะในลักษณะใดกันแน่?

 เกริ่นกันมาถึงขนาดนี้ คุณพ่อคุณแม่และผู้อ่านๆ หลายคนอาจเริ่มขมวดคิ้วกันพอสมควรแล้ว แต่อย่าเพิ่งถอดใจหรือคิดว่าจะซับซ้อนเกินไป ในบทความนี้ Starfish Labz จะขอพาคุณพ่อคุณแม่และผู้อ่านทุกคนมาสำรวจถึงอีกหนึ่งความหมาย และแนวคิดของสิ่งที่เรียกว่า’ภาวะความคิดสร้างสรรค์’ ในบริบทของการเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญให้กับลูกๆ ของเรากันค่ะ

ในแง่นี้ ภาวะความคิดสร้างสรรค์ที่ Starfish Labz ว่าจะคืออะไร? จะมีคุณค่าต่อหัวใจ การเติบโต ความฝัน ตลอดจนการกลายเป็นขุมพลังอันสำคัญของสังคมและโลกในฐานะพลเมืองและบุคคลในวัยทำงานอย่างไร มาหาคำตอบร่วมกันไปในบทความนี้กันเลยค่ะ

 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในขอบเขตของความหมายที่เราคุ้นเคยกัน

 แม้อาจดูเหมือนเป็นคำและคอนเซ็ปต์ที่เราคุ้นเคยและมีมานาน แต่คุณพ่อคุณแม่เชื่อไหมคะว่าจริงๆ แล้วแนวคิดเรื่อง Creativity นั้นเพิ่งมาถือกำเนิดขึ้นเพียงแค่ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 เท่านั้นเอง การถือกำเนิดของแนวคิด Creativity กล่าวโดยคร่าวและอย่างเรียบง่ายที่สุดนั้นก็มาจากความพยายามของคนรุ่นหลัง ที่อยากทำความเข้าใจทักษะหรือกระบวนการที่คนรุ่นก่อนๆ สามารถสรรค์สร้าง ผลิตคิดค้น หรือนำเสนอสิ่งหรือแนวคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีก่อนและยังมีอิทธิพลในการเปลี่ยนโลก Karl Benz บุคคลแรกที่ศึกษา คิดค้นและสร้างรถยนต์ทำสิ่งดังกล่าวได้อย่างไร? หรือปัจจัยใด ทักษะใด กระบวนการใดที่ช่วยให้ Albert Einstein สามารถคิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity)?

 ความปรารถนา และความพยายามในการทำความเข้าใจความสามารถของบุคคลเหล่านี้ทำให้ในภายหลัง ในท้ายที่สุด เราได้พบและให้กำเนิดแนวคิดที่เราเรียกกันว่า ‘ทักษะหรือภาวะความคิดสร้างสรรค์ (creativity)’ อันหมายถึง

 ความสามารถในการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆ มิว่าจะเป็นทางออกใหม่ให้กับปัญหา, กลวิธีการใหม่, อุปกรณ์ใหม่, หรือวัตถุ-รูปแบบใหม่ๆ ในทางศิลปะ (Kerr, 2565)

หากกล่าวอย่างให้เห็นภาพที่สุด ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในแง่นี้ก็จึงคือผลผลิต อาทิ การผลิตรถยนต์คันแรก, การผลิตเครื่องบินลำแรก, การพัฒนารถยนต์หรือเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม, กวีนิพนธ์, นวนิยาย, ภาพวาด และไปจนถึงแนวทางใหม่ที่ผู้นำในสังคมคิดออกมาเป็นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาหนึ่งๆ ในสังคม ภาวะความคิดสร้างสรรค์ในแง่นี้ จึงอาจกล่าวได้ว่ามีความผูกโยงอยู่กับบรรยากาศแวดล้อมทางสังคม หรือเป็นทักษะความสามารถทางสังคมชนิดหนึ่ง คล้ายคลึงกับทักษะในลักษณะเดียวกันอื่นๆ อาทิ พรสวรรค์ (talents), ผลิตภาพ (productivity), กรอบความคิดแบบเติบโตได้ (growth mindset), การมีความวิริยะ (grit) ฯลฯ

 แต่นอกเหนือจากความหมายในขอบเขตนี้แล้ว Creativity ยังมีพื้นที่ในส่วนอื่นๆ ในโลกของเราอีกไหม? นอกเหนือจากในบริบทของการเป็นสะพานสู่การประดิษฐ์คิดค้นหรือนำเสนอผลงานศิลปะที่มีคุณค่าใหม่ๆ เป็นไปได้ไหมที่ Creativity ทักษะอันทรงพลังที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่งมากมายที่เปลี่ยนโลกของเรา จะมีพื้นที่ในการดำรงอยู่ที่อาจดูแสนธรรมดาและตลอดจนกระทั่งในการทำความเข้าใจว่าเราคือใครเช่นกัน คำตอบของคำถามนี้จะพาเราไปสู่อีกแง่มุมหนึ่งอันลึกซึ้งหนึ่งของ Creativity ที่เรียกว่ Everyday Creativity หรือ ภาวะความคิดสร้างสรรค์ในทุกๆ วัน

Everyday Creativity: ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในฐานะการเป็นพื้นฐานอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์และการเป็นทักษะชีวิต

ศึกษาและนำเสนอโดย Ruth Richards จิตแพทย์และนักจิตวิทยาชาวอเมริกันในปี 1988 ในหนังสือ Everyday Creativity: Coping and Thriving in the 21st Century แนวคิดของ Everyday Creativity ใหม่นี้มีความลึกซึ้งและสัมผัสลึกลงไปที่แนวทางทางมนุษยนิยมและจิตวิทยาของ Creativity มากขึ้นนั่นก็คือการมองว่า Creativity ไม่ได้เป็นเพียงแค่ทักษะ (skill) ในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ต่างๆ แต่โดยพื้นฐานแล้ว ยังมีลักษณะของการเป็นความสามารถอันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ (human nature)

ภาวะความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวของทุกคนและ “We are a creative creature.” (“เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสร้างสรรค์”) และคุณลักษณะอันสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้ของเราก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องรอใช้งานกับโปรเจกต์ที่จะมีคุณค่าและอิทธิพลต่อสังคมเพียงอย่างเดียว หากแต่สามารถนำมาใช้ในการเสริมสร้างประสบการณ์ในการดำรงอยู่และในการประกอบสร้างตัวตนของเราเช่นกัน

ภาวะความคิดสร้างสรรค์ในอีกด้านนี้ซึ่งมีความเชื่อมโยงอยู่กับตัวตน ความเป็นปักเจก และชีวิตของบุคคลมากกว่าจึงมักถูกเรียกและใช้งานโดยอีกคำมากกว่า นั่นคือ  “Creative Expression” หรือ “การแสดงออกด้วยคุณลักษณะอันสร้างสรรค์” อันหมายถึงจากเดิมที่เราคิดว่า Creativity เป็นทักษะหรือกระทั่งพรสวรรค์ที่มีอยู่เพียงแค่ในบางคน และเราสามารถใช้ Creativity กับผลงานเพื่อธุรกิจหรือสาธารณชนเท่านั้น จริงๆ แล้ว เรามีเมล็ดพันธุ์ของ Creativity อันโดดเด่นอยู่ในตัวของพวกเราทุกคน เรามีธรรมชาติอันมีลักษณะสร้างสรรค์ และคุณลักษณะดังกล่าวนั้นสามารถนำออกมาใช้ได้ไม่เพียงแค่กับการทำงานหรือโปรเจกต์ทางสังคม แต่ยังรวมถึงเพื่อชีวิตและจิตใจของเรา

ตัวอย่างหนึ่งของ Everyday Creativity อย่างง่ายที่สุดในแง่นี้ก็คือความสามารถของเราในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ในแง่ใหม่ ๆ ที่แท้จริงแล้วก็กำเนิดจากธรรมชาติ ภาวะ และความสามารถแห่งการสร้างสรรค์ของเราที่มีอยู่ในตัวและไปจนถึงกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการบำบัดทางจิตใจต่างๆ เช่น การวาดภาพเพื่อการบำบัด, ดนตรีบำบัด, การเขียนเพื่อการบำบัดทางจิตใจ ไปจนถึงการท่องเที่ยว กิจกรรม การละเล่นที่ช่วยขับให้เราฝึกใช้ Creative Expression ของเราในแง่มุมเล็กๆ ไปจนถึงใหญ่ๆ ต่างๆ ตามแต่ความสนใจและความชอบของแต่ละคน

Creative Expression และการช่วยเสริมสร้างตัวตน (Self) ที่แตกต่างและโดดเด่นของเด็กๆ แต่ละคน

มาถึงตรงนี้ คุณพ่อคุณแม่และผู้อ่านหลายๆ คนคงอาจเริ่มพอเห็นภาพและพอเข้าใจในบทบาทของภาวะความคิดสร้างสรรค์ในการเป็นทักษะชีวิตกันบ้างแล้ว และแน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ผู้ใหญ่อย่างๆ เราสามารถมอบให้กับเด็กเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นลูก หลาน หรือน้องของเรานั่นก็คือการช่วยบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ Creativity ในตัวของเด็กๆ แต่ละคนให้สามารถกลายเป็น Creative Expression ที่งดงาม มีคุณค่า มีความหมาย และมีประโยชน์ต่อตัวเขาเองในหลากหลายด้านตั้งแต่การทำความเข้าใจตัวเอง (self-discovery) ไปจนถึงการความสามารถในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อสังคมอย่างขอบเขตของ Creativity ในความหมายแรก

แต่สิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆ นั้น แน่นอนว่าควรเริ่มที่ตัวของเขาเองก่อน เขาชอบอะไร? เขาเป็นคนอย่างไร? ความโดดเด่นของเขาอยู่ที่ตรงไหน? กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ, การฝึกเขียนบันทึก, การเข้าร่วมกิจกรรมที่ท้าทาย ฝึกให้เขาต้องคิดหารูปแบบแนวทางใหม่อื่นๆ นั้นล้วนเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับภาวะความคิดสร้างสรรค์ในตัวของพวกเขา

ในแง่นี้ เราจึงอาจกล่าวได้ว่า ในระดับของการเป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ ภาวะความคิดสร้างสรรค์คือเมล็ดพันธุ์อันมหัศจรรย์ในตัวของเด็กๆ และผู้ใหญ่ทุกคนที่สามารถช่วยเชื่อมร่างกายและความคิดจิตใจ (mind-body connection) ของเราให้สัมพันธ์กัน เรามองเห็นบางสิ่งในระดับจิตใต้สำนึกของเราอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนเมื่อเราลองลงมือวาดภาพ เด็กๆ สามารถค่อยๆ เรียนรู้สิ่งที่เขาชอบ ตัวตนที่เขาเป็น สิ่งที่เขาอยากทำด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์มากมายต่างๆ อาทิ การเต้น, ดนตรี, ศิลปะ, งานประดิษฐ์, การละเล่น ฯลฯ

สรุป (Key Takeaway)

หัวใจสำคัญของภาวะความคิดสร้างสรรค์ในฐานะการเป็นทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กๆ ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาต้องเติบโตไปเป็นจิตรกร, กวี, หรือผู้ผลิตศิลปะหรือกระทั่งนวัตกรรมยิ่งใหญ่ พวกเขาสามารถเติบโตไปเป็นใครก็ได้ด้วยการเรียนรู้และเข้าใจตนเองผ่านเครื่องมือที่มีคุณประโยชน์ และหนึ่งในเครื่องมือที่ทรงพลังนั่นก็คือ Creativity หรือความสามารถในการมี Creative Expression ในตัวของพวกเขาเอง

แม้จะดูเหมือนเป็นแนวคิดคนรุ่นใหม่ แต่ Creative Expression และ Every Creativity อันที่จริงแล้วเป็นคุณลักษณะธรรมชาติพื้นฐานที่ไม่ได้ซับซ้อนและไกลตัว แต่เพราะเราคุ้นเคยกับนิยามโดยทั่วไปเพียงอย่างเดียว จึงอาจต้องใช้เวลาในการค่อยๆ สังเกตและปรับเลนส์ในการมองเห็นภาวะความคิดสร้างสรรค์ในตัวของเด็กๆ และของเราเอง คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นง่ายๆ ได้ด้วยการทำความเข้าใจแนวคิดผ่านแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น บทความเกี่ยวกับภาวะความคิดสร้างสรรค์, หนังสือสู่สเต็ปในการบ่มเพาะจริง, งานวิจัยจากจิตแพทย์หรือนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ พูดคุยกับลูก ค่อยๆ สอนเขาให้เข้าใจแนวคิด Creative Expression และเริ่มลองให้เขาลงมือทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อบ่มเพาะ Everyday Creative Expression ให้กับเขาอย่างเป็นรูปธรรม

อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1587 ผู้เรียน
เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก

“เล่นให้เด็กติดใจ”จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าหากเรารู้เคล็ดลับบทเรียนนี้จะช่วยให้คุณ “เป็นคนที่ เล่นอย่างสนุก”“เข้าใจวิธีการเ ...

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก
เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์

How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1631 ผู้เรียน
ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
43:23
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย

Starfish Academy
377 views • 1 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
95 views • 1 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
04:09
Starfish Academy

3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19

Starfish Academy
54 views • 2 ปีที่แล้ว
3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
6056 views • 2 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21